301 จำนวนผู้เข้าชม |
วิธีมองหาน่านน้ำลูกค้าใหม่
เมื่อประเทศไทยเข้าสู่รอบ 3 ของการระบาดโควิดในช่วงนี้ ค้าปลีกคงต้องมากระชับระบบการทำงาน รีดประสิทธิภาพภายในองค์กร จัดทัพทีมทำงานที่พร้อมทดแทนกันและกัน ที่สำคัญต้องไม่หลุดการสื่อสารระหว่างเราและลูกค้า ความสม่ำเสมอจึงจำเป็น ทว่าความถี่และวิธีการเข้าหาก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญและยอดสั่งซื้อของแต่ละรายนั้นๆ “ผลกำไร-ยอดขาย-สต็อก” ต้องติดตาม ประเมิน และหาวิธีการ กันแบบวันต่อวัน
EP นี้ ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ชี้แนะ SME ค้าปลีก หลังปรับตัวกันมาตั้งแต่โควิดรอบ 1 รอบ 2 มาวันนี้ต้องมองหา “ปลานอกอ่าว” มองออกจากพื้นที่เดิม ๆ หรือช่องทางปัจจุบัน ตัวอย่างวิธีคิดคือ การลองวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ขีดวงรัศมีที่เราสามารถบริการลูกค้าใหม่ ๆ ที่อยู่ในรัศมีที่เราเข้าถึง เกาะติด และให้บริการได้ รูปแบบการไปรับคำสั่งซื้อที่สถานบริการ หรือจะด้วยทางออนไลน์ ทางโทรศัพท์ ก็ต้องทำ และสามารถมองทั้งลักษณะลูกค้า ที่เป็นทั้ง B2B และ B2C
เป้าหมาย คือ เป้าหมาย ต้องพยายามคงไว้ แต่วิธีการปรับเปลี่ยนได้ ทำตัวบนไม่ได้ คือ ยอดขาย ก็ให้มาดูตัวล่าง คือ ค่าใช้จ่าย หรือ การทำกำไร ที่สำคัญ ในภาวะแบบนี้ ผู้บริหารต้องมาวิเคราะห์หากลุ่มสินค้าที่สร้างรายได้ ตั้งแต่ 60% ของรายได้รวม และทุ่มเทกำลังและเวลาในการบริหารเพื่อรักษาตัวเลขนี้ไว้ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารสต็อก เติมของไม่ให้ขาด ในขณะเดียวกัน ให้วิเคราะห์หาสินค้าอื่นที่สร้างผลกำไรมากขึ้นมาช่วย โควิดกระทบกับทุกภาคส่วน ดังนั้น ธุรกิจต้องพยายามค้าหาโอกาสในวิกฤตินี้ให้ได้
ผู้ดำเนินรายการ : ดร.ธนันธน์ อภิวันทนาพร ผู้บริหารศูนย์พัฒนาและขับเคลื่อนการปฏิรูปธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจต่างประเทศและการตลาด สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED)
ผู้สัมภาษณ์ : ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมค้าปลีกไทย
Timeline
• กลยุทธ์ปรับแผนระยะสั้น
• ผลกำไร-ยอดขาย-สต็อก ต้องติดตามวันต่อวัน
• จับปลานอกอ่าว หาพื้นที่ใหม่ ออกจากความเคยชินเดิม
• เป้าหมาย ต้องพยายามคงไว้ แต่เปลี่ยนวิธีการ
• ระวัง ลดค่าใช้จ่ายเรื่อย ๆ จะยิ่งทำให้ยอดขายลดลง
• การบริหารกลุ่มสินค้าที่ยังสร้างรายได้หลัก
Pod bean : https://www.podbean.com/ew/pb-esdvc-10346e4