564 จำนวนผู้เข้าชม |
How to ธุรกิจไทย ไร้หนี้
ผ่านพ้น 100 วันไปแล้วกับการประกาศพบผู้ป่วยโรคระบาด COVID-19 รายแรกในประเทศไทย ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่เศรษฐกิจไทยและส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยอย่างมาก ทำให้การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป รายได้ลดลง จึงกระทบต่อสภาพคล่องและปัญหาการบริหารรายได้และปัญหาการชำระเงินกู้ หากมีปัญหาการผ่อนชำระหนี้ โดย ISMED ขอรวบรวมวิธีการลดหนี้ที่นำเสนอจากสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านนำไปใช้กับการดำเนินธุรกิจ
How to วิธีลดหนี้ให้ไว อย่างแรกคือ
1. การรวบรวมหนี้ทั้งหมดให้เป็นก้อนเดียว
โดยจะต้องรวบรวมข้อมูลหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อทำให้รู้ได้ว่ามีหนี้เท่าไหร่ เพื่อบริหารจัดการ และทำให้เรารู้ได้ว่าไม่ควรที่จะต้องก่อหนี้เพิ่มขึ้นอีก ต่อมาคือ การจำแนกหนี้ว่า เป็นหนี้ดี หรือหนี้ไม่ดี โดยหนี้ดีคือ หนี้ที่สามารถสร้างรายได้กลับมา ส่วนหนี้ไม่ดี คือ ไม่สามารถสร้างประโยชน์ได้อีก เช่น หนี้จากการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า เป็นต้น พร้อมกันนี้จะต้องจัดลำดับชำระหนี้ เริ่มจากส่วนที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดก่อน เนื่องจากเมื่อเงินต้นลดลง ดอกเบี้ยที่จ่ายจะลดลงไปด้วย ทำให้ปลดหนี้ได้รวดเร็ว ที่ต้องวางแผนการชำระหนี้อย่างเป็นระบบและมีความรอบคอบ
2. หยุดวงการการก่อหนี้เพิ่ม
ที่มีวิธีการลด ละ เลิก สร้างหนี้ใหม่ ทั้งตัดภาระรายจ่ายที่ไม่จำเป็น หยุดการใช้บัตรเครดิต ไม่กู้นอกระบบ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงและยังมีอัตราดอกเบี้ยสูงมาก รวมถึงต้องเลิกวิธีหมุนเงินจากที่อื่นๆ เพื่อนำมาลดยอดหนี้ โดยการวางแผนชำระเงินให้รอบคอบ และไม่ก่อหนี้เพิ่ม ต้องรู้จักประหยัดเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก
3. การปรับแผนการเงินใหม่และหารายได้เสริม
ด้วยการ วางแผนรายรับ รายจ่าย โดยการวางแผนงบประมาณเพื่อทำให้สามารถเก็บเงินได้มากขึ้น มีการควบคุมรายจ่าย และลดโอกาสการสร้างหนี้ สำหรับภาระหนี้ที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ ต่อมา ควรตั้งเป้าหมายทางการเงินและวางเป้าหมายในการเก็บเงิน ด้วยการวางแผนออมเงิน ทั้ง การฝากออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูง การลงทุนในกองทุนรวม หรือการหารายได้เสริมจากช่องทางอื่นๆ
4. การเข้าไปหารือกับเจ้าหนี้หรือ ธนาคาร
สำหรับผู้ประกอบการที่มีปัญหาหนี้สินจำนวนมาก และกำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง โดยการเข้าไปขอคำปรึกษาและเจรจาไกล่เกลี่ยกับธนาคาร ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก อย่าหนีหนี้โดยเด็ดขาด และธนาคารไม่ต้องการให้ลูกค้าเกิดปัญหาหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ตามมาอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ได้ร่วมกับ สถาบันการเงิน ที่มีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือ SMEs และดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้เอกชนเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 ประกอบด้วย
1. การเลื่อนพักชำระหนี้สำหรับธุรกิจ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท เป็นเวลา 6 เดือน โดยไม่ต้องชำระหนี้และเงินต้น ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต
2. การสนับสนุนสินเชื่อใหม่ (soft loan) ให้แก่ธุรกิจ SMEs วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษ 2% ต่อปี โดยไม่คิดดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก ซึ่งสามารถขอสินเชื่อได้ที่ธนาคารที่เป็นลูกค้าและมีวงเงินสินเชื่ออยู่
3. มาตรการเสริมสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน
4. ลดเงินนำส่ง FIDF ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (สถาบันการเงิน) เพื่อลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ของภาคธุรกิจและประชาชน
เป็นมาตรการที่ ธปท. ได้ออกมาให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยที่กำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคระบาด COVID-19 เพื่อทำให้ผู้ประกอบการผ่านพ้นภาวะวิกฤตไปพร้อมกัน
บทสรุป จากประสบการณ์ที่ได้สัมภาษณ์ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจำนวนหลายรายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยพบว่า ธุรกิจไทยหลายที่ประสบปัญหากับการเป็นหนี้จะมีแนวทางสำคัญในการแก้หนี้คือ การไม่ก่อหนี้หนี้เพิ่ม ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็น และหาวิธีพูดคุยกับเจ้าหนี้โดยตรง เพื่อหาทางเจรจาขอผ่อนชำระออกไปก่อน แต่ไม่ได้หนีหนี้ และค่อยๆ ผ่อนชำระอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการที่จะหารายได้ใหม่ๆ ในหลายช่องทาง
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องรีบดำเนินการคือ “ทำบัญชีรายรับรายจ่าย การไม่ก่อหนี้เพิ่ม เจรจากับเจ้าหนี้ และหาทางลดหนี้ให้เร็วที่สุด หารายได้เพิ่มหลายช่องทาง จะเป็นแนวทางสำคัญให้องค์กรเพิ่มรายได้ในระยะยาว”
เรียบเรียงโดย สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ที่มาข้อมูล :
https://krungthai.com/th/krungthai-update/promotion-detail/163
https://blog.ghbank.co.th/5-ways-to-pay-off-your-debt/
https://www.krungsri.com/bank/th/planyourmoney/must-stories/other-plan/5-ways-to-pay-off-debts.html
https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n2063.aspx
ภาพจาก :
https://pixabay.com
https://www.bot.or.th/Thai/ConsumerInfo/List_InfoImage/200413_debt_restruct.jpg