913 จำนวนผู้เข้าชม |
ส่องเมกะเทรนด์ สร้างโอกาสธุรกิจไทย
เข้าสู่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 จึงอยากร่วมนำเสนอ เมกะเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ประเมินสถานการณ์และปัจจัยด้านต่าง ๆ พร้อมเตรียมแผน การจัดทำกลยุทธ์ ที่จะสร้างโอกาสการเติบโตของธุรกิจให้สอดคล้องกับเทรนด์ในตลาดโลก โดย ยูโรมอนิเตอร์ (Euromonitor International) ได้มีการเปิดเผย 8 เมกะเทรนด์ เพื่อให้ภาคธุรกิจมีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลง พร้อมสามารถวิเคราะห์สถานการณ์และการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น ทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ รวมถึงการปรับแผนธุรกิจเพื่อรับมือและการสร้างโอกาสเติบโตระยะยาว
8 เมกะเทรนด์ ได้แก่
1. การถดถอยของกลุ่มคนชนชั้นกลาง (Middle Class Retreat) มาจากการที่ประเทศพัฒนาแล้ว เศรษฐกิจไม่ได้เติบโตเหมือนในอดีต ทำให้ผู้บริโภคจะต้องประหยัดและมัธยัสถ์ขึ้น ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปเลือกซื้อในร้านค้าที่มีขนาดเล็กและเลือกในทำเลที่มีความสะดวก ส่งผลต่อเนื่องให้ผู้ประกอบการจะต้องออกแบบ ผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้นานที่ยาวนาน การเน้นคุณภาพที่ดี การนำกลับมาใช้ใหม่และมีความสะดวกในการบำรุงรักษา
2. การให้ความสำคัญกับประสบการณ์มากกว่า (Experience More) จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เน้นประสบการณ์ มากกว่าการเลือกซื้อสินค้าเพื่อเป็นเจ้าของ เห็นได้จากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ การใช้จ่ายสำหรับสินค้าคงทนลดลง แต่การใช้จ่ายสำหรับสินค้าด้านบริการเพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อเนื่องไปยังธุรกิจอื่นๆ ทั้ง ทั้งฟู้ดเซอร์วิส และการชอปปิ้งที่ต้องสร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภคด้วยเช่นกัน ซึ่งการสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้บริโภคจะช่วยสร้างยอดขายและกำไรเพิ่มขึ้น
3. การปรับเปลี่ยนของผู้นำในตลาด สร้างตลาดเกิดใหม่ (Shifting Market Frontiers) จากผลจากการเปลี่ยนแปลงของประชากร ที่มีผลต่อภาคธุรกิจ รวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและเทคโนโลยี ทำให้เมืองขนาดใหญ่มีการอิ่มตัวและส่งผลต่อการสร้างตลาดใหม่ เห็นได้จากประเทศจีน มีการขยายสู่เมืองขนาดกลางมากขึ้น เช่น เมืองเซี่ยเหมิน (Xiamen) อยู่ในพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการประเมินว่าจะมีขนาดตลาดเพิ่มขึ้น 3 เท่า ในปี 2573 มากกว่า กรุงโรม มิวนิค และบาเซโลน่า
4. การให้ความสำคัญการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพสูงและพร้อมจ่ายเงินมากขึ้น (Premiumisation) โดยผู้บริโภคมุ่งเน้นการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สินค้าพรีเมียมที่พร้อมจ่ายเงินมากขึ้น เช่น ผู้บริโภคพร้อมใช้จ่ายสำหรับการมีประสบการณ์ท่องเที่ยวที่เป็น ไฮ-เอนด์ แต่ก็จะมีการประหยัดในด้านอื่น ๆ มาทดแทน
5. การเลือกใช้ชีวิตที่มีจริยธรรม (Ethical Living) ทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่มีความพร้อมในการใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อการดำเนินชีวิตและการดำเนินธุรกิจด้วย จริยธรรมและศีลธรรม พร้อมกับให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืน
6. นวัตกรรมในการชอปปิ้ง (Shopping Reinvented) จากการที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จากการมีอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้บริโภคมีแฟลตฟอร์มหลากหลายในการเลือกซื้อสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการต้องเตรียมพร้อมในการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไป
7. การเลือกใช้ชีวิตที่มุ่งด้านการมีสุขภาพที่ดี (Healthy Living) โดยการมีไลฟ์สไตล์ที่มีสุขภาพที่ดี ได้กลายเป็นวีถีชีวิตที่ปกติของผู้บริโภค ส่งผลต่อเนื่องกับการให้ความสนใจต่อการดูแลสุขภาพ ความงาม การมีสุขภาพจิตใจที่ดี การออกกำลังกาย และการพัฒนาตนเองทั้งหมด จึงช่วยเปิดโอกาสธุรกิจใหม่ๆ
8. ผู้บริโภคที่มีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต (Connected Consumers) เทคโนโลยีมีผลให้ผู้บริโภคมีการเชื่อมต่อกัน จากการใช้งาน คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แทบเลต และอุปกรณ์ต่างๆ โดยเทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของทุกคน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถดำเนินการทุกอย่างได้ทั้งหมดผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น การเลือกแท็กซี่ การจองตั๋วเครื่องบิน การสั่งอาหาร ฟังเพลง การเล่นเกมส์ หรือ ฟังเพลง เป็นต้น
เมกะเทรนด์ กับเศรษฐกิจไทย
ขณะที่ นักวิชาการจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้แก่ จิรัฐ เจนพึ่งพร, พัชรพร ลีพิพัฒน์ไพบูลย์ และ รุจา อดิศรกาญจน์ ได้มีการเปิดเผยถึง 6 เมกะเทรนด์ กับภาวะเศรษฐกิจไทย ได้แก่
1. สังคมผู้สูงอายุ จากประชากรในโลก ที่จะกลายเป็น สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ในอีก 35 ปีข้างหน้า แต่ไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุในอีก 5 ปีข้างหน้า ดังนั้นไทย จะต้องยกระดับรายได้ให้สูงขึ้นด้วย ไม่เช่นนั้นไทยจะแก่ก่อนรวย โดยผลจากเมกะเทรนด์ ทั้ง กลุ่มคนทำงานที่ต้องรับผิดชอบผู้สูงอายุมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจมีสินทรัพย์ไม่เพียงพอดำรงชีวิต ภาครัฐ ในอีก 20 ปีจะมีค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้น 3 เท่า ภาคธุรกิจ ต้องวางแผนจากความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป มีความต้องการสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้น
2. ความเป็นเมือง ไทยจะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ต้องมีการใช้เงินลงทุนสูงและการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
3. ความเป็นปัจเจกบุคคล จากกลุ่มเจนวาย (Gen Y) อายุ 20-35 ปี คนกลุ่มนี้จะมีถึงครึ่งหนึ่งของแรงงานในอนาคต และในอีก 10 ปีจะมีบทบาทมากขึ้น ทั้งแรงงาน การบริโภค โดยธุรกิจจะต้องมีการปรับตัวอย่างจากแรงงานและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
4. เทคโนโลยีนวัตกรรม โดยมีเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิ Internet of Things, Robots, Artificial Intelligence (AI), Drones, Blockchain, Virtual reality, 3D Printing และ Electric vehicle ได้เข้ามามีบทบาทในโลกมากขึ้นและไทยจะมีความพร้อมรับเทคโนโลยีอย่างไร มนุษย์กับเทคโนโลยีจะอยู่รวมกันอย่างไร ต้องปรับตัวมากแค่ไหน เพื่อจำกัดผลกระทบให้น้อยที่สุด
5. การเปลี่ยนขั้วทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยกลุ่มประเทศในเอเชียจะมีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้น สัดส่วนจีดีพีเอเชียแปซิฟิกต่อจีดีพีโลกในปี 2010-2022 จะอยู่ที่ 30% แซงหน้ากลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐ โดยโลกเปลี่ยนไป ทุกฝ่ายจะทำเหมือนเดิมไม่ได้ โดยประเทศไทย จะมีกลยุทธ์ในการปรับตัวให้เข้ากับขั้วทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของโลกที่กำลังเปลี่ยนอย่างไร
6. การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ในช่วง 20 ปี การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มีความสำคัญต่อกลุ่มประเทศในอาเซียนและไทย ซึ่งหากเป็นแนวโน้มแบบนี้่ต่อไป อาจจะส่งผลให้ไทยขาดแคลนน้ำสำหรับการเพาะปลูก กระทบต่อรายได้เกษตรกร จำนวนคนที่ได้รับผลกระทบมีมาก
เทรนด์หลักในโลกปี 2020
จากข้อมูลของเว็บไซด์ https://global-influences.com ได้มีการเปิด 3 เทรนด์หลักในโลกที่จะเกิดขึ้นในปี 2020 หรือในปี 2563 ได้แก่
1. Smart ส่งผลทำให้เกิด The Global Brain โดยจากการมี IoT ทำให้อุปกรณ์ทุกอย่างจำนวน 30,000 ล้านชิ้นจะมีการเชื่อมต่อกัน ทำให้เกิดการสร้างสู่ Deep learning ขณะเดียวกัน AI ส่งผลต่อการสร้างโอกาสใหม่อย่างไม่จำกัดทั้งในชีวิต การเมือง การศึกษา สื่อ สุขภาพ การขยายคอมเมิร์ซและท่องเที่ยว พร้อมกันนี้ การเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ตจะรวมถึงสมอง ทำให้เกิดการประมวลผลที่รวดเร็วและมีข้อมูลหลากหลายชั้น
รวมถึงทำให้เกิด Strategic 'Big Data' จากการรวมข้อมูลจาก บิ๊กดาต้า และโชเชียล คอนเทนต์ ทำให้เกิดการวางกลยุทธ์ซอฟแวร์ และการสร้างเครื่องมือเพื่อทำนายพฤติกรรม การเลือกซื้อ ทัศนคติต่าง ๆ การบริหารจัดการสู่การวิเคราะห์ข้อมูล Social Analytics จึงเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มองค์กร และเกิดการแชร์ข้อมูลระหว่างกัน รวมถึงการสร้าง นักข่าวที่ใช้ Data มาขับเคลื่อน สามารถทำนายส่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2. Social ส่งผลทำให้เกิดทั้ง Weconomics จากการสร้างแฟลตฟอร์มการระดมทุนที่เป็น Cloud platform ที่มีการเติบโต 60% สูงมากในตลาดโลก และสหรัฐเป็นผู้นำเทรนด์ โดยในปี 2555 มีมูลค่าประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีได้รับประโยชน์สามารถสร้างธุรกิจเติบโตรวดเร็ว จากการระดมทุนผ่านแฟลตฟอร์มดังกล่าว
ตลอดจนการเกิด Global Citizens มาจากการเติบโตของอัตราการใช้งานโทรศัพท์มือถือ ทำให้ประชาชนมีการสร้างอาชีพ สร้างประสบการณ์ และสร้างวัฒนธรรมใหม่ได้, Betterness ทำให้มีการบริโภคอย่างมีสติในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อการกำหนดสร้างแผนธุรกิจในอนาคต ทั้งการนำเสนอทางวัฒนธรรม กฎระเบียบ และคราฟ์แมนชิฟ ทำให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงเป็นผลต่อเนื่องกับการมีเทคโนโลยีที่สะอาด
Mobile Education จากการปรับโฉมของเทคโนโลยีทำให้เกิด การสร้างโปรแกรม MBA ที่มาจากการดำเนินออนไลน์ โซเชียล มีเดีย ส่งผลต่อการสร้าง mEducation ที่มีมูลค่า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 และ MOOCS (Massive Open Online Course) มีผลต่อเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา มีการดำเนินการสร้าง อะคาเดมี ที่เป็น โค้ดอะคาเดมี ทำให้เกิดการบริโภคด้านเทคโนโลยี (เทค คอนซูเมอร์) และเกิดการสร้างเทคโนโลยีใหม่
3. Wellbeing มีผลต่อทั้ง Clouds Health ที่มาจาก คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ นำไปสู่การสร้าง "Quantified - Self apps" ส่งผลต่อการทำนายโรคเพื่อการการป้องกัน การดูแลรักษาโรคที่จะเกิดขึ้น
Enoughism ความท้าทายที่ผู้บริโภคที่มีความต้องการสุขภาพดี ที่มาจากการบริโภค โดยบริษัทต่าง ๆ ได้ตะหนักถึงการที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จ จะต้องมาจากการมีพนักงานที่มีจิตใจพร้อม
เมกะเทรนด์ทั้งหมดจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเตรียมแผนเพื่อรับมือ รวมถึงการกระตุ้นการสร้างสินค้า และบริการใหม่ ในอนาคตให้สอดคล้องกับเทรนด์ที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก
ภาพจาก : https://pixabay.com
เรียบเรียงโดย สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม